เร่งปรับมาตรการ! บุคลากรแพทย์แพ้วัคซีนโควิดหลังฉีด
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( โควิด-19 ) ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นประธานในที่ประชุมให้ความสำคัญการบริการประชาชนที่เท่าเทียม ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ภายในการประชุมได้มีการแจ้งว่าหลังจากการเสร็จและระหว่างพักสังเกตอาการ 30 นาที พบว่า มีผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ที่มีประวัติแพ้ยาเพนนิซิลลิน เกิดอาการแพ้ที่มีผลข้างเคียงแบบรุนแรงหลังได้รับวัคซีนเพียงแค่ 3 ชั่วโมงเท่านั้น และเนื่องจากเป็นบุคลากรทางการแพทย์จึงทำให้ได้รับความช่วยเหลือแบบทันเวลา
โฆษก ศบค. แถลง พบบุคลากรทางการแพทย์ 1 ราย แพ้วัคซีนโควิด-19
ทั้งนี้ ในที่ประชุม สธ. ยังได้กำชับอย่างเข้มงวดไปยัง สสจ.จังหวัดที่ต้องให้บริการวัคซีนโควิด-19 แก่ประชาชน ให้เพิ่มระบบเพื่อสร้างความมั่นใจ ปรับลดขั้นตอนบางอย่างไม่ให้เกิดการรวมกลุ่ม และอำนวยความสะดวกให้มีความปลอดภัย เพราะหากเกิดกรณีที่ผู้รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงอย่างรุนแรง จะสามารถให้การช่วยเหลือได้ทันเวลา นอกจากนี้ยังได้จัดระบบให้ภาคเอกชนยื่นขอขึ้นทะบเบียนวัคซีนกับองค์การอาหารและยา (อย.) ให้สะดวกรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง
ซึ่งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ได้ทำการฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ได้มีการเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ จนถึงวันที่ 2 มีนาคม 2564 มีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนแล้วทั้งหมด 7,262 ราย โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับวัคซีนโควิด-19 ดังนี้
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข และ อสม. จำนวน 6,784 ราย
- เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่น ๆ ที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วย จำนวน 365 ราย
- บุคคลที่มีโรคประจำตัว จำนวน 22 ราย
- ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง (สมุทรสาคร และปทุมธานี) จำนวน 91 ราย
โฆษก ศบค. แถลง พบบุคลากรทางการแพทย์ 1 ราย แพ้วัคซีนโควิด-19
สำหรับผู้ที่มีผลข้างเคียงหลังจากการรับวัคซีนมีจำนวนทั้งสิ้น 20 ราย แบ่งได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
อาการไม่รุนแรง 19 ราย
- มีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด จำนวน 1 ราย
- เหนื่อย จำนวน 12 ราย
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย จำนวน 4 ราย
- คลื่นไส้ จำนวน 2 ราย
อาการรุนแรง 1 ราย
เป็นบุคลากรทางการแพทย์ เพศหญิงอายุ 28 ปี ฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนเที่ยงวัน จากนั้นเฝ้าดูอาการ 30 นาที อาการปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปราว 4-5 ชั่วโมง เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเดินทางมายังโรงพยาบาลมีอาการความดันโลหิตต่ำ บุคลากรท่านนี้เคยมีประวัติแพ้ยา Penicillin (เพนิซิลลิน) มาตั้งแต่เด็ก ภายหลังเมื่อให้การรักษาด้วยการฉีดยาอะดรีนาลีน อาการก็เริ่มดีขึ้น และปลอดภัย
ซึ่งในขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการพิจารณา และเรียกประชุมทุกฝ่ายอย่างเร่งด่วน เพื่อหาข้อสรุป พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูล ประวัติ และผลตรวจต่าง ๆ คาดว่าผลการประชุมน่าจะทราบในราว ๆ สัปดาห์นี้ ส่วนประชาชนคนอื่นๆก็ต้องเฝ้าระวังตัวเองให้ได้มากที่สุด ทั้งสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ ตรวจโควิดที่บ้านเมื่อมีอาการที่น่าสงสัย
ข้อมูล : เดลินิวส์